Insets for Design

อุปกรณ์ 

  • รูปทรงเรขาคณิต 10 ชิ้น พร้อมกรอบที่มีรูปทรงเดียวกัน
  • กระดาษรูปสี่เหลี่ยมสีต่างๆ ที่มีรูปทรงและขนาดเท่ากับกรอบ
  • ดินสอสี
  • ถาด

วัตถุประสงค์        

  • เพื่อเตรียมเด็กสำหรับการเขียน
  • เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเด็กสำหรับการจับดินสออย่างถูกต้อง
  • เพื่อพัฒนาการบังคับ และการเคลื่อนไหวด้วยความยืดหยุ่น
  • เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์การวาดภาพ และการจับคู่รูปทรง
  • เพื่อพัฒนาการหยิบจับเบาๆ
  • เพื่อพัฒนารูปแบบ และการใช้สี
  • เพื่อสังเกตการณ์การเจริญเติบโตของเด็ก / ปัจจัยที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของมือ

กลไกควบคุมความผิดพลาด 

  • ความไม่ถูกต้อง เข้ากัน ของการวาดรูปทรง การประกอบรูปทรงของเด็กที่ไม่ตรงกับขอบของรูปทรง “โดยในระยะแรกๆ เด็กจะวางรูปทรงไม่ตรงรอยกรอบ โดยไม่ได้พิจารณาถึงความถูกต้อง”   

          (Dr.Montessori’s Own Handbook หน้า 145)

 ภาษา      

         Insets กรอบ

อายุโดยประมาณ 

         3-4 ขวบ

การนำเสนอ           

               ครูจะหยิบอุปกรณ์ที่มีรูปทรงพื้นฐานแสดงให้เด็กดู แล้ววางไว้บนถาด จากนั้น ให้เด็กลองวางรูปทรงดังกล่าวไว้บนถาด ครูจะให้เด็กเลือกกระดาษมาสองชิ้น ดินสอสีสองแท่ง แล้วให้วางไว้บนถาดพร้อมกับ insets และกรอบ ครูแสดงให้เด็กเห็นถึงวิธีการคลุมกระดาษด้วยกรอบรูปทรง และวิธีการหยิบจับดินสอที่ถูกต้อง ครูจะใช้ดินสอสีวาดเส้นเบาๆ รอบๆ ขอบรูปทรงในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา จากนั้น ให้เด็กลองปฏิบัติดู

               การสอนท่าและวิธีการเขียนที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น เด็กที่ถนัดเขียนมือขวา ให้วางกระดาษไว้ที่ด้านซ้ายของเด็ก และในทางตรงกันข้ามสำหรับเด็กที่ถนัดเขียนมือซ้าย หากเด็กสามารถทำได้สำเร็จ ครูจะให้เด็กระบายสีภายในกรอบรูปทรง โดยใช้ดินสอสีอีกแท่งหนึ่ง และเมื่อเด็กเข้าใจแบบฝึกหัดนี้แล้ว เด็กจะสามารถเลือกทำกับกรอบรูปทรงใดก็ได้

               ในระยะต้น อาจเป็นการยากสำหรับเด็กในการทำแบบฝึกหัดเช่นนี้ แต่เด็กจะมีทักษะที่ดีขึ้นเมื่อฝึกฝนบ่อยๆ อุปกรณ์จึงควรอยู่ในสถานที่ที่เด็กสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา และมีหลากหลายรูปแบบ ครูจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ดินสอของเด็กจากการสังเกตงานของเด็ก และการออกแบบรูปทรงต่างๆ “การลากเส้นของการระบายสีในระยะต้น จะดูค่อนข้างยุ่งยากและสับสน ก็กลายเป็นการลากเส้นที่เส้นแต่ละเส้นขนานกัน และมีการลากที่ยาวขึ้นด้วย จนในที่สุดก็สามารถระบายสีจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง ในทิศทางเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูสามารถวางใจได้ว่าเด็กเริ่มมีความชำนาญในการใช้ดินสอ หรือปากกา และมีความมั่นคงในการใช้กล้ามเนื้อเพื่อใช้เครื่องมือในการเขียน
(The Discovery of the Child หน้า 210)

               ในการนำเสนอนั้น มอนเตสซอรีใช้ทั้งกรอบ และ insets ซึ่งถือว่าค่อนข้างยากสำหรับเด็กใน ระยะต้นๆ สถาบัน MCI หรือ Montessori Centre International ใช้เพียงส่วนกรอบเท่านั้น เด็กสามารถใช้ทั้ง insets และกรอบในการออกแบบรูปทรงต่างๆ ได้

ตัวอย่าง

  • การออกแบบรูปทรงสมมาตร เช่น สร้างรูปทรงที่สามารถพับเปิด/ปิด ได้ ที่ 90 และ 180 องศา
  • รวมรูปทรงเรขาคณิตสองรูปทรง เพื่อออกแบบรูปทรงใหม่
  • การนำเสนอแบบฝึกหัดแบบมอนเตสซอรี ที่ใช้ insets และกรอบ
  • การแรเงารูปทรง เพื่อให้เป็นรูปเดียวกับรูปทรงเรขาคณิตชุดที่ 1 ในชั้นวางอุปกรณ์เรขาคณิต
  • ใช้รูปทรงหลากหลายแบบ เพื่อประกอบเป็นรูปทรงที่สร้างสรรค์ ทั้งการทำบน insets หรือบนกระดาษแผ่นใหญ่
  • ออกแบบรูปทรงซ้ำๆ เพื่อประกอบเป็นลายฉลุสำหรับประดับตกแต่ง

วิธีการอื่นๆ - Different Approaches

               เกมสนุกๆ ที่สามารถเล่นกับเด็กได้อีกอย่างคือ การพาปากกาไปเดินเล่น ด้วยวิธีการนั่งเล่นกับเด็กแล้วให้เด็กใช้ปากกาในมือลากเส้นจากด้านซ้ายของกระดาษไปเรื่อยๆ โดยสมมุติว่าตามเส้นทางบนกระดาษมีทั้งทางขรุขระ และทางเรียบ (Read and Write Together 1998 Kerry Shorrock-Kelly)
               อาจใช้รูปแบบตัวอักษร แต่ต้องควบคุมอย่างระมัดระวังมิให้เด็กเขียนตัวอักษรอย่างไม่ถูกวิธี เช่น ไม่เริ่มเขียนจากด้านขวาไปซ้าย หรือเริ่มจากด้านล่างแทนที่จะเริ่มจากด้านบน เป็นต้น เนื่องจากเมื่อติดเป็นนิสัยแล้วจะเลิกยาก
               เมื่อเด็กแสดงความสนใจการเขียนหนังสือแล้ว ให้เด็กมีสมุดบันทึกประจำตัว เพื่อให้เด็กสามารถวาดรูปในหน้าหนึ่งและเขียนอธิบายเรื่องราวในอีกหน้าหนึ่ง ในระยะต้น ลายมือหรือเส้นการขีดเขียนจะยังไม่ถูกต้องตามหลักที่ควรเป็น

Bissex (1980) Gnys at Work: A Child Learns to Read and Write – ห้าขั้นตอน

        1. ขั้นก่อนการติดต่อสื่อสาร

        2. ขั้นกึ่ง - phonetic

        3. ขั้น - phonetic

        4. ขั้นหัวเลี้ยวหัวต่อ

        5. ขั้นอยู่ตัว

               เด็กส่วนใหญ่เมื่อคุ้นเคยกับภาษาท้องถิ่นของตนเองแล้ว จะอยู่ในขั้นกึ่ง phonetic หรือ phonetic ฉะนั้น Gnys at Work. Chomsky, C. (In Loeffler 1992) เรียกขั้นตอนนี้ว่าขั้นตอนการรู้จักการสะกดคำ และเราในฐานะครู ต้องคาดหวังว่าขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นในระยะการเขียนหนังสือในระยะต้นๆ